มีนาคม 16, 2020

ตำนานพระแก้วมรกตจากเวียงจันทร์มาไทย

ตำนานพระแก้วมรกตจากเวียงจันทร์มาไทย

 

  หากใครที่เคยศึกษาประวัติศาสตร์ และค้นหาข้อมูลของพระแก้วมรกตมาบ้างจะรู้ว่าการค้นพบพระแก้วมรกตครั้งแรกนั้นถูกค้นพบว่าวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งอย่างไม่ได้ตั้งใจ หลังจากนั้นก็ถูกอัญเชิญไปไว้ที่เองลำปางก่อนที่มีการอัญเชิญไปไว้ที่เมืองเชียงใหม่ และหลังจากอยู่ที่เชียงใหม่ประมาณ  84 ปีก็ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทร์ โดยพระเจ้าไชยเชษฐาที่หลบหนีการบุกโจมตีของพม่าย้ายไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทร์และหลังจากนั้นเป็นต้นมาพระแก้วมรกตก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทร์นั่นเป็นต้นมายาวนานถึง 215 ปีด้วยกัน

ก่อนที่ประเทศไทยจะได้รับพระแก้วมรกตกลับคืนมาสู่ราชธานี โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี  2310 ซึ่งในตอนนั้นพม่าได้ทำการบุกเข้าโจมตีเมืองพระนครศรีอยุธยา และไม่นานหลังจากนั้นพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้ตีเอาเมืองอยุธยากลับคืนมาได้โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมดนานถึง 15 ปีด้วยกันในการทำให้กรุงศรีอยุธยากลับมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้งโดยพระองค์จะมีเจ้าพระยามหากษัตรศึกคอยร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่และคอยเป็นทั้งเพื่อนและทั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในการนำทัพออกไปรบฆ่าฟันกับพม่า

และไม่นานพระเจ้าตากก็สามารถบุกไปตีเวียงจันทร์และทำการยึดครองเวียงจันทร์มาได้สำเร็จ โดยได้เวียงจันทร์มาเป็นเมืองขึ้นและในครั้งนั้นเองที่ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาประดิษฐานที่ประเทศไทยซึ่งในสมัยนั้นตรงกับสมัยกรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2321 หลังจากที่พระเจ้าตากอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาแล้วก็ได้นำพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณ ซึ่งพระแก้วมรกตก็ได้อยู่ที่วัดอรุณจนพระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคต และหลังจากพระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคต

จึงได้มีการปราบดา เจ้าพระยามหากษัตรศึกขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 นั่นเอง หลังจากนั้นรัชกาลที่ 1 ก็ได้ทำการย้ายราชธานีมาอีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานด้วย ซึ่งที่ตั้งใหม่นี้ก็คือกรุงเทพมหานครในปัจจุบันนั่นเอง โดยในครั้งรัชกาลที่ 1 ทรงได้โปรดให้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเอาไว้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ซึ่งในครั้งในได้มีการจัดงานสมโภชอย่างยิ่งใหญ่ 3 วัน 3 คืนเลยที่เดียว ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาพระแก้วมรกตก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  ซึ่งก็คือวัดพระแก้วในปัจจุบันนั่นเอง

ประวัติ ประเพณี วัฒนธรรม
อดีต-ปัจจุบัน