มกราคม 7, 2020

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม

     ประเพณีต่างๆในประเทศไทยเรานั้นส่วนใหญ่แล้วล้วนจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

อาจจะเป็นเพราะคนไทยส่วนใหญ่นั้นนับถือศาสนาพุทธกันมานานตั้งแต่บรรพบุรุษ อีกทั้งยังเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับเรื่องของศาสนา เพราะความเชื่อต่างๆ รวมไปถึงวิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่ได้ทำสืบทอดกันมาอย่างยาวนานนั้นก็ล้วนจะเกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งนั้นด้วย สำหรับ“ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม”นั้นก็เป็นหนึ่งในประเพณีที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเช่นกัน

       “ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม” จัดได้ว่าเป็นประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา

โดยมีต้นกำเนิดมาจากชาวลาวเวียงที่ได้ทำการอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์แล้วเข้ามาปักหลักอาศัยอยู่ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 3 นั่นเอง เมื่อถึงช่วงฤดูของการเก็บเกี่ยวข้าวชาวบ้านก็จะพร้อมใจกันออกไปทำบุญโดยการนำเอาข้าวใหม่ที่มีกลิ่นหอม ด้วยการนำเอาข้าวใหม่นี้ไปทำเป็นข้าวหลามทำการเผาให้หอมสุกในกระบอกไม้ไผ่ 

โดยที่ในสมัยนั้นชาวบ้านจะนำข้าวหลามนี้ไปถวายแด่พระสงฆ์สามเณรที่วัดหนองบัวและวัดหนองแหน “ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม” นั้นเกิดขึ้นจากความความศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนาของชาวลาวเวียง จัดขึ้นที่วัดสุวรรณคีรีบนเขาดงยาง โดยที่ บนยอดเขานั้นมีรอยพระพุทธบาทประทับอยู่ ชาวบ้านต่างได้พร้อมใจกันที่จะเดินเท้าเพื่อขึ้นไปทำการสักการะและปิดทอง ซึ่งต้องเดินเท้าผ่านป่าเป็นระยะทางประมาณ 5-6 กิโลเมตร โดยชาวบ้านนั้นจะเผาข้าวหลามกันวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 3 เพื่อที่จะได้นำเอาไปถวายพระ อีกทั้งเพื่อเป็นเสบียงสำหรับการเดินเท้าขึ้นไปทำบุญบนยอดเขาในเช้าวันรุ่งขึ้น

ซึ่งจะตรงกับวันมาฆบูชาพอดีนั่นก็คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ในทุกปีนั่นเอง สิ่งที่โดดเด่นของประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามนั้นก็คือ มีการเผาข้าวหลามที่จัดขึ้นโดยการให้ชุมชนต่างๆได้เข้าร่วมด้วยการนำเอาข้าวหลามของแต่ละชุมชนมาเผารวมในเตาเดียวกัน วางเรียงเป็นแนวยาว โดยถูกจัดให้เป็นเตาเผาข้าวหลามที่มีความยาวที่สุดในโลกนั่นเอง

 

อีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเพณีปัจจุบันของประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามก็คือนอกจากการเผาข้าวหลามแล้ว ยังจัดให้มีกิจกรรมพิเศษอื่นๆภายในงาน ด้วยการเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้พื้นบ้าน และมีกลุ่มนักเรียนมาบรรเลงดนตรีไทย รวมไปถึงจัดให้มีการออกร้านของชุมชน

        อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า “ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม” นั้นเป็นประเพณีที่น่าสนใจมากๆ และเป็นประเพณีหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่คนไทยให้การนับถือกันเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ว่าจะเป็นประเพณีไหนๆก็ตามหากประเพณีนั้นได้ทำให้ผู้คนในชุมชน หรือคนต่างถิ่นได้เดินทางมารวมกันเพื่อสร้างบุญกุศลหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

จนเกิดเป็นแหล่งรวมน้ำใจไมตรีจิตที่ดีต่อกันก็แสดงให้เห็นว่าเราทุกคนนั้นสามัคคีปรองดอง และรักใคร่กันดี ประเพณีเช่นนี้ควรค่าแก่การสืบทอดเอาไว้เผื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก และเกิดเป็นความภูมิใจในประเพณีท้องถิ่น

 

สนับสนุนเรื่องราวดีๆจาก บาคาร่าขั้นต่ำ 10 บาท

ประวัติ ประเพณี วัฒนธรรม
อดีต-ปัจจุบัน